วันอาทิตย์ที่ 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559

บันทึกครั้งที่ 6
วัน ศุกร์ ที่  19 กุมภาพันธ์  2559
เวลา  13:30 - 17:30


ความรู้ที่ได้รับ
        กิจกรรมวันนี้อาจารย์แจกไม้และดินน้ำมันให้นักศึกษา ทำตามโจทย์ที่กำหนด
ให้นักศึกษานำใม้ประกอบเป็นรูปสามเหลี่ยม





และให้นักศึกษาทำเป็นรูปทรงสามเหลี่ยม




ต่อมาอาจารย์ให้ประกอบไม้เป้นรูปสีเหลี่ยม



แล้วต่อมาให้ประกอบเป็นรูปทรงสี่เหลี่ยม



     จากกิจกรรมนี้จะเห็นได้ว่า  รูปทรงแต่ละรูปหากเราวางหรือหมุนเราสามารถมองเห็นรูปทรงที่หลากหลาย
แต่กิจกรรมนี้ไม่เหมาะกับเด็กปฐมวัยเพราะมันยาก  แต่ควรให้เด็กเรียนรู้รูปทรงต่างๆๆได้จากบล็อคและของใช้ในชีวิตประจำวัน

เพื่อนนำเสนอ
เลขที่ 10 นางสาวกมลชนก ทองสารไตร นำเสนอบทความ
เลขที่ 11 นางสาวมาณิศา บุตรพรม นำเสนอ VDO ตัวอย่างการสอน 
เลขที่ 12 นางสาวศิริพร บุญประคม  นำเสนองานวิจัย

ทักษะที่ได้
     ทักษะคิดวิเคราะห์
     ทักษะการแก้ปัญหา
     ทักษะการวางแผน
การประยุกต์ใช้
     สามารถนำไปใช้ในการฝึกสอนในอนาคต
     การปรับเปลี่ยนกิจกรรมให้เหมาะสมกับเด็กปฐมวัย  
     
ประเมิน
    วันนี้บรรยากาศในห้องสนุกสนานเหมือนเดิม ไม่ง่วง สนุกกับคุณครูสอน

วิธีการสอน
    การสอนแบบการตั้งโจทย์ปัญหา
    การสอนแบบสร้างสถานณการณ์จริง

คุณธรรมจริยธรรม 
    มาตรงต่อเวลา
    ตั้งใจเรียน


























วันจันทร์ที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559

บันทึกครั้งที่ 5
วัน ศุกร์ ที่  12 กุมภาพันธ์  2559
เวลา  13:30 - 17:30



ความรู้ที่ได้รับ
กิจกรรมวันนี้คุณครูแจกกระดาษ 1 แผ่นแล้วเขียนตาราง 2 ตาราง
                  ตารางที่ 1  สองแถวสิบช่อง
                  ตารางที่ 2  สามแถวสิบช่อง
แล้วแรงเงาสองช่องติดกัน และสามช่องติดกันแล้วเว้นห่างกันแต่ละชุดไม่ให้ซ้ำกัน

กิจกรรมนี้ไม่เหมาะสำหรับเด็กปฐมวัย
       เด็กไม่ได้ลงปฏิบัติโดยตรงและมันยากเกินไป
       ควรปรับกิจกรรมนี้ให้เด็กได้ทำกิจกรรมได้ง่ายขึ้นโดยการให้เด็กลองต่อรูปทรงสี่เหลี่ยมให้ได้รูปต่างๆแล้วให้เด็กวาดรูปหรือวางตามรูปทรง กิจกรรมนี้เด็กจะได้ประสบการณ์โดยตรง

เพื่อนนำเสนอ
เลขที่ 7 นางสาวภัทรภร ญาติสังกัด นำเสนอบทความ เรื่องหลักการสอนคณิตศาสตร์
เลขที่ 8 นางสาวพรชนก ไตรวงษ์ตุ้ม นำเสนอตัวอย่างการสอน เรื่องสอนการนับเลข
เลขที่ 9 นางสาวศิริวรรณ  สุวรรณสาร นำเสนอวิจัย เรื่อง กิจกรรมการปั้นกระดาษ

ต่อมาคุณครูเปิด VDO โทรทัศน์ครู การจัดการเรียนรู้แบบ Project Approach
เพื่อที่จะดูว่าการสอนแบบ Project Approach สามารถบูรณาการกับคณิตศาสตร์ได้อย่าไร

ทักษะที่ได้
     ทักษะคิด
     ทักษะวิคราะห์
     ทักษะการเปรียบเทียบ
การประยุกต์ใช้
     สามารถนำไปใช้ในการฝึกสอนในอนาคตและการปรับเปลี่ยนกิจกรรมให้เหมาะสมกับเด็กปฐมวัย  

ประเมิน
    วันนี้บรรยากาศในห้องสนุกสนานเหมือนเดิม ไม่ง่วง สนุกกับคุณครูสอน

วิธีการสอน
    การสอนแบบการสือเสาะ 

คุณธรรมจริยธรรม 
    มาตรงต่อเวลา


วันจันทร์ที่ 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559

บันทึกครั้งที่ 4
วัน ศุกร์ ที่  5 กุมภาพันธ์  2559
เวลา  13:30 - 17:30

ความรู้ที่ได้รับ
อาจารย์แจกป้ายชื่อให้คนละ 1 ใบ เขียนชื่อตัวเองแล้วไปติดหน้ากระดานอาจารย์วาดตาราง  เวลาการตื่นนอนมี 3 ช่อง คือ     ช่องที่ 1  คนที่ตื่นก่อน  07:00  
                               ช่องที่ 2  ตื่นนอนเวลา  07:00
                               ช่องที่ 3  ตื่นนอนหลัง  07:30
กิจกรรมนี้ไม่เหมาะสำหรับเด็กปฐมวัยเพราะว่าเด็กยังไม่รู้จักเวลา ยากเกินไปสำหรับเด็กปฐมวัยและไม่รู้ว่าตัวเองตื่นเวลาไหน ถ้าอยากให้เด็กเรียนรู้เรื่องเวลาผู้ปกครองควรจดบันทึกเวลาลูกตื่นนอนทุกครั้งและค่อยๆสอนเขาไปเรื่อยๆเดี๋ยวเด็กก็จะเข้าใจและสามารถบอกเวลาได้

อาจารย์เขียนตัวเลขบนกระดานหน้าห้องเรียน 4  ชุด
                          3525    11  155  350
 ให้นักศึกษาทายว่าตัวเลขที่นักศึกษาเห็น เกี่ยวข้องหรือสำคัญกับอาจารย์อย่างไร
จากกิจกรรมนี้ได้ทราบว่า ตัวเลขล้วนแต่อยู่ในชิวิตประจำวันของเราที่พบเห็นกันบ่อยๆ

อาจารย์เอาสื่อออกมาให้ดู 1 ชิ้น สื่อที่อาจารย์นำมาเหมาะสมหรือควรแก้ไขในส่วนไหนบ้าง




ใช้สีสะท้อนแสง
ตัวหนังสือเล็ก
ควรใช้วัสดุที่คงทน
ควรแบ่งตารางให้ชัดเจน

อาจารย์ถามว่า เกมการศึกษามีกี่ประเภทอะไรบ้าง
     เกมส์การศึกษามีทั้งหมด  8 ประเภท
1.จับคู่
2.ภาพตัดต่อ
3.วางภาพต่อปลาย
4.การเรียงลำดับ
5.จัดหมวดหมู่
6.เกมศึกษารายละเอียดภาพ
7.พื้นฐานการบวก
8.เกมจับคู่แบบตารางสัมพันธ์

อาจารย์ถามว่า กิจกรรมหลักของเด็กปฐมวัยมีกี่ประเภทอะไรบ้าง
     กิจกรรมหลักมีทั้งหมด 6 กิจกรรม
1.กิจกรรมเสริมประสบการณ์
2.กิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะ
3.กิจกรรมเสรี
4.กิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์
5.กิจกรรมกลางแจ้ง
6.เกมการศึกษา

เพื่อนนำเสนอ
     เลขที่ 3 นางสาววนิดา   สาเมาะ  นำเสนองานวิจัยการพัฒนาความพร้อมด้านคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยโดยใช้การละเล่นพื้นบ้านของไทย
     เลขที่ 5 นางสาวปรีชญา  ชื่อแย้ม  นำเสนอตัวอย่างการสอน VDOตัวเลขกับเด็กปฐมวัย
     เลขที่ 6 นางสาวเรณุกา  บุญประเสริฐ  นำเสนองานวิจัยทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยที่ได้รับจากการจัดกิจกรรมศิลปะสื่อผสม

สาระและมาตรฐานการเรียนรู้คณิตศาสตร์ปฐมวัยมีทั้งหมด 6 สาระ  คือ
      สาระที่ 1 : จำนวนและการดำเนินการ
      สาระที่ 2 : การวัด
      สาระที่ 3 : เรขาคณิต มาตรฐาน
      สาระที่ 4 : พีชคณิต
      สาระที่ 5 : การวิเคราะห์ข้อมูลและความน่าจะเป็น
      สาระที่ 6 : ทักษะกระบวนการทางคณิตศาสตร์ การจัดประสบการณ์การเรียนรู้

นักศึกษาออกมานำสเนอของเล่นที่ส่งเสริมพัฒนาการทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัย 



เสริมทักษะ
     การคิดวิเคราะห์
     การนับ
     การจัดหมวดหมู
     การคาดคะเนคำตอบ

การประยุกต์ใช้
    สามารถจัดการเรียนการสอนให้เด้กปฐมวัยได้อย่างเหมาะสม
    สามารถหาสื่อที่ส่งเสริมเด็กได้ทุกด้านและเหมาะสม

วิธีการสอน
     ให้นักศึกษามีส่วนร่วมในการจัดกรรมต่างๆ  

คุณธรรมจริยธรรม
     ตรงต่อเวลา
     มีความรับผิดชอบ
   

บันทึกครั้งที่ 3
วัน ศุกร์ ที่  29 มกราคม  2559
เวลา  13:30 - 17:30


ความรู้ที่ได้รับ
     วันนี้ครูแจกกระดาษเขียน แล้วให้เขียนชื่อไปติดหน้ากระดานชั้นเรียน กระดานมีสองฝั่งนักเรียนที่มาและไม่มา จะได้ทราบว่านักเรียนมาเรียนกี่คนขาดกี่คน และนักเรียนทั้งหมดมีกี่คน
กิจกรรมนี้เด็กจะได้ทักษะทางด้านการนับเลข และบอกจำนวนได้  และการเปรียบเทียบ 
     ต่อมาได้นำเสนองานเลขที่1-3
เลขที่1    นางสาวสุริยาพร  กลั่นบิดา  นำเสนอ วิจัยการจัดประสบการณ์สำหรับเด็กปฐมวัย
เลขที่2    นางสาวประวีณา  หงษสุด    นำเสนอ VDO  ตัวอย่างการสอนเจ้าแกะจอมฉลาด
เลขที่3    นางสาววนิดา  ไม่มาเรียน
เลขที่4    นางสาวปรียา  นักทำนา   นำเสนอบทความ ด็กปฐมวัยเรียนรู้อะไรในคณิตศาสตร์

   

เพลงคณิตศาสตร์







เสริมทักษะ
การบอกจำนวน
การนับจำนวน
การเปรียบเทียบ

การประยุกต์ใช้
สามารถนำไปใช้ในการจัดการเรียนการสอนให้กับเด็กปฐมวัยให้เหมาะสมเด็กแต่ละช่วงวัย

การประเมิน
ในห้อนเรียนบรรยากาศเย็นน่านอน   อาจารย์ชอบทำให้หัวเราะ ร่าเริง  สนุกสนาน  อาจารย์เห็นนักศึกษาง่วงนอนก็เลยให้ร้องเพลงแก้ง่วง

วิธีการสอน
การสอนจากสถานการณ์จริง

คุณธรรมจริยธรรม
ตรงต่อเวลา
ทำงานตนเองที่ได้รับมอบหมาย















บันทึกครั้งที่ 2
วัน ศุกร์ ที่  15 มกราคม  2559
เวลา  13:30 - 17:30

+++++++++ขาดเรียน+++++++++


วันจันทร์ที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559

สรุปวิจัยที่เกี่ยวข้องกับคณิตศาสตร์

การพัฒนาความคิดรวบยอดทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 1 โดยใช้สื่อประสม = Development of mathematics concepts of kindergarten 1 students through multimedia

ผู้แต่ง   : ดวงเดือน คณานุศักดิ์
หัวเรื่อง  : ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กเทศบาลตำบลแม่แจ่ม;คณิตศาสตร์ -- การสอนด้วยสื่อ;สื่อการ                      สอน;คณิตศาสตร์ -- การศึกษาและการสอน (อนุบาล)
พิมพ์ลักษณ์  : เชียงใหม่ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, 2553
ผู้แต่งร่วม    :  มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. บัณฑิตวิทยาลัย;มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. สาขาวิชาประถมศึกษา
โน้ต การค้นคว้าแบบอิสระ (ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต (สาขาวิชาประถมศึกษา)) -- มหาวิทยาลัยเชียงใหม่;บรรณานุกรม: แผ่น [77]-79
ภาษา    : ไทย
ปีการศึกษา   : 2553


สรุปบทนำ 

                การจัดการศึกษาให้เด็กปฐมวัยเพื่อวางรากฐานที่ดีให้แก่เด็กมีโอกาสได้รับการเสริมสร้างพัฒนาการทั้ง 4 ด้านคือ ด้านร่างกาย อารมณ์ สังคม และสติปัญญา การที่เด็กจะเติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่ดีได้นั้นขึ้นอยู่กับช่วงแรกของชิวิตว่าได้รับการจัดประสบการณ์ที่ถูกต้องหรือไม่ ในการจัดการศึกษาให้แก่เด็กในวัยนี้ควรเป็นไปอย่าเหมาะสมกับวัย

  ความมุ่งหมายของการวิจัย

         1. เพื่อสร้างชุดสื่อประสมเพื่อพัฒนาความคิดรวบยอดทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 1
         2.เพื่อศึกษาผลการใช้สื่อประสม เพื่อพัฒนาความคิดรวบยอดทางคณิตศาสตร์ของเด็กนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 1

 วิธีการดำาเนินการวิจัย

        กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ ได้แก่ นักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 1 ภาคเรียนที่2  ปีการศึกษา2552 จำนวน10 คน ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กแม่แจ่ม อำเภอแม่แจ่ม จังหวัดเชียงใหม่

ผลการวิจัย

        การใช้สื่อประสมเพื่อพัฒนาความคิดรวบยอดทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 1 อายุระหว่าง 3-4 ขวบ ประกอบด้วยการเปรียบเทียบ การจับคู่ การวัด การนับ การจัดหมวดหมู่ รูปทรง

อภิปรายผล

        สื่อประกอบการเรียนรู้หลากหลายชนิดได้แก่ วัสดุ อุปกรณ์ ของจริง ของจำลอง เกม และกิจกรรมทางคณิตศาสตร์โดยครอบคลุมขอบข่ายคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยในช่วงอายุระหว่าง 3-4 ขวบ

ที่มา : http://library.cmu.ac.th/digital_collection/etheses/detail.php



สรุปตัวอย่างการสอน

Project innovation Math for Kids :สื่อการสอนคณิตคิดสนุก

สื่อการสอนนี้จัดทำขึ้นเพื่อเป็นสื่อการสอ­นทางเลือก เหมาะสำหรับเด็กอายุ 2 -3 ปีขึ้นไป มีทั้งหมด 4 บทเรียน โดยเน้นฝึกทักษะการใช้ตัวเลขแทนจำนวนสัตว์ หรือสิ่งของต่างๆ ที่พบเจอได้ในชีวิตประจำวัน

1.จำนวนนับ 1 - 10  
       การรู้จักตัวเลข 
       การเขียน   
       การอ่าน
       การใช้ตัวเลขแทนปริมาณสิ่งของต่างๆได้อย่างถูกต้อง 
2.การเรียงลำดับจำนวนนับ
       การใช้ตัวเลขแทนปริมาณสิ่งของต่างๆได้อย่างถูกต้อง
3.การบวกจำนวนสองจำนวนที่มีผลบวกไม่เกิน 9
4.การลบจำนวนสองจำนวนที่มีผลลบไม่เกิน 9

ที่มา : https://www.youtube.com/watch?v=ifNEK3T_OFU
           
       

สรุปบทความที่เกี่ยวกับคณิตศาสตร์

เจาะลึก....เด็กปฐมวัยเรียนรู้อะไรในคณิตศาสตร์

     คณิตศาสตร์มีความสำคัญยิ่งต่อการพัฒนาความคิด ทำให้มนุษย์คิดอย่างมีเหตุผล เป็นระบบ มีแบบแผน ตลอดจนมีการพัฒนาความคิดสร้างสรรค์และสามารถวิเคราะห์ปัญหาหรือสถานการณ์ได้อย่างรอบคอบ ช่วยให้คาดการณ์วางแผน แก้ปัญหา และนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้อย่างเหมาะสมนอกจากนั้นคณิตศาสตร์ยังเป็นเครื่องมือในการศึกษาด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและศาสตร์อื่น ๆเด็กปฐมวัย เป็นวัยเริ่มต้นแห่งการเรียนรู้ มีความอยากรู้อยากเห็น ช่างสังเกต ชอบเล่น และสำรวจสิ่งต่างๆรอบตัว คณิตศาสตร์สามารถพัฒนาเสริมสร้างให้เด็กมีความรู้ความเข้าใจในธรรมชาติและสิ่งต่างๆ รอบตัว การที่เด็กมีความรู้ความเข้าใจ มีทักษะกระบวนการทางคณิตศาสตร์ และมีเจตคติที่ดีต่อคณิตศาสตร์ ไม่เพียงส่งผลให้เด็กประสบความสำเร็จในการเรียนรู้ทางคณิตศาสตร์เท่านั้น แต่จะส่งผลต่อการเรียนรู้ในศาสตร์อื่น ๆ คณิตศาสตร์จึงมีบทบาทสำคัญทั้งในการเรียนรู้และมีประโยชน์ต่อการดำเนินชีวิต

      สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) ได้พัฒนากรอบมาตรฐานการเรียนรู้คณิตศาสตร์ปฐมวัย ตามหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช 2546 ตั้งแต่ปี 2551 โดยคณะกรรมการซึ่งประกอบด้วย ผู้ทรงคุณวุฒิ นักวิชาการศึกษา ศึกษานิเทศก์ ผู้บริหารสถานศึกษาและครูผู้สอน ได้ร่วมกำหนดมาตรฐานการเรียนรู้ ตัวชี้วัด และสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ปฐมวัย อายุ 3 – 5 ปี เพื่อเป็นแนวทางให้สถานศึกษาหรือสถานพัฒนาเด็กปฐมวัยทุกสังกัดนำไปใช้จัดการศึกษาด้านคณิตศาสตร์ ได้อย่างถูกต้องเหมาะสม

เด็กปฐมวัยเรียนรู้อะไรในคณิตศาสตร์
      การเรียนรู้คณิตศาสตร์ระดับปฐมวัย มุ่งหวังให้เด็กทุกคนได้เตรียมความพร้อมด้านต่าง ๆ ทางคณิตศาสตร์อันเป็นพื้นฐานในการเรียนรู้คณิตศาสตร์ระดับประถมศึกษา โดยกำหนดสาระหลักที่จำเป็นสำหรับเด็ก ได้แก่
จำนวนและการดำเนินการ จำนวน การรวมกลุ่ม และการแยกกลุ่ม การวัด ความยาว น้ำหนัก ปริมาตร เงินและเวลา เรขาคณิต ตำแหน่ง ทิศทาง ระยะทาง รูปเรขาคณิตสามมิติและรูปเรขาคณิตสองมิติ พีชคณิต แบบรูปและความสัมพันธ์ การวิเคราะห์ข้อมูลและความน่าจะเป็น การเก็บรวบรวมข้อมูลและการนำเสนอ ทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์ การแก้ปัญหา การให้เหตุผล การสื่อสาร การสื่อความหมายทางคณิตศาสตร์และการนำเสนอ การเชื่อมโยงความรู้ต่างๆ ทางคณิตศาสตร์ และเชื่อมโยงคณิตศาสตร์กับศาสตร์อื่นๆ และมีความคิดสร้างสรรค์

      สาระและมาตรฐานการเรียนรู้คณิตศาสตร์ปฐมวัย
      มาตรฐานการเรียนรู้ เป็นเป้าหมายสำคัญในการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ให้กับเด็ก รวมทั้งเป็นแนวทางในการกำกับ ตรวจสอบ และประเมินผล มาตรฐานการเรียนรู้จัดให้อยู่ภายใต้สาระหลัก ดังนี้
      สาระที่ 1 : จำนวนและการดำเนินการ มาตรฐาน ค.ป. 1.1 : เข้าใจถึงความหลากหลายของการแสดงจำนวน และการใช้จำนวนในชีวิตจริง
      สาระที่ 2 : การวัด มาตรฐาน ค.ป. 2.1 : เข้าใจพื้นฐานเกี่ยวกับการวัด ความยาว น้ำหนัก ปริมาตร เงินและเวลา
      สาระที่ 3 : เรขาคณิต มาตรฐาน ค.ป. 3.1 : รู้จักใช้คำในการบอกตำแหน่ง ทิศทาง และระยะทาง มาตรฐาน ค.ป. 3.2 : รู้จัก จำแนกรูปเรขาคณิต และเข้าใจการเปลี่ยนแปลงรูปเรขาคณิตที่เกิดจากการจัดกระทำ
      สาระที่ 4 : พีชคณิต มาตรฐาน ค.ป. 4.1 : เข้าใจแบบรูปและความสัมพันธ์
      สาระที่ 5 : การวิเคราะห์ข้อมูลและความน่าจะเป็น มาตรฐาน ค.ป. 5.1 : รวบรวมข้อมูลที่เกี่ยวกับตนเองและสิ่งแวดล้อม และนำเสนอ
      สาระที่ 6 : ทักษะกระบวนการทางคณิตศาสตร์ การจัดประสบการณ์การเรียนรู้ ครูควรคอยสอดแทรกทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์ตามความเหมาะสมกับระดับอายุ

ที่มา : http://www.ipst.ac.th/web/index.php/news-and-announcements/articles/item/717-2011-11-28
บันทึกครั้งที่ 1
วัน ศุกร์ ที่  8 มกราคม  2559
เวลา  13:30 - 17:30

ความรู้ที่ได้รับ
       การเรียนการสอนของวิชาการจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย  อาจารย์แจกกระดาษ 1 แผ่น แบ่งให้เป็น 3 ส่วนเท่าๆกันและเขียนจุดเด่นของตนเองลงในกระดาษ อาจารย์จะทายว่าเป็นใครและอาจารย์ถามว่ามีวิธีการแบ่งกระดาษกันอย่างไรและให้นักศึกษาแสดงความคิดเห็นว่ามีกี่วิธี สุดท้ายอาจารย์แนะนำเกี่ยวกับการทำบล็อคส่งในรายวิชา 


ทักษะ
    -ฝึกทักษะการคิดวิเคราะห์จุดเด่นของตัวเอง
    -ฝึกทักษะการฟังและการพูด
    -ฝึกทักษะการวางแผน

การประยุกต์ใช้
    -สามารถนำมาใช้ในชีวิตประจำวันได้
    -นำมาประยุกต์ใช้ในการเรียนวิชาการจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
    -สามารถนำทักษะที่ได้ไปใช้กับกิจกรรมอื่นๆได้

ประเมินบรรยากาศ
     -บรรยากาศภายในห้อง เรียนสนุก ไม่ตึงเครียด

วิธีการสอน
      -สอนด้วยประเด็นปัญหา
      -สอนด้วยการให้นักศึกษามีส่วนร่วม

คุณธรรมจริยธรรม
      -ตรงต่อเวลา
      -มีความรับผิดชอบต่อหน้าที่ของตนเอง